เรื่องของ“เเมว” (Part 2)


สวัสดีครับทุกๆคน มาเจอกับผมอีกครั้งครับ ภู ศุภกร หลังจากที่ครั้งที่แล้วที่ผมได้นำข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับน้องแมว มาให้ทุกคนได้ทราบทั้งหมด 6 หัวข้อ จากครั้งที่แล้วผมได้นำเสนอให้ทุกคนทราบไปทั้งหมด 2 หัวข้อ และในวันนี้ผมจะมานำเสนออีก 2 หัวข้อ นั่นก็คือ หัวข้อ “อายุของแมว” และ หัวข้อ “การเลี้ยงดูแมว” นั่นเองครับ  ตอนนี้น้องแมวที่ผมเลี้ยงอยู่ชื่อ ข้าวกล้อง ผมเริ่มเลี้ยงข้าวกล้องได้เป็นเวลา 6 เดือนแล้ว ตอนนี้ข้าวกล้องตัวใหญ่และอ้วนกลมมาก เนื่องจากผมชอบแมวตัวอ้วนๆ กลมๆ ที่ผมนั้นชอบแมวตัวอ้วนๆ กลมๆ เพราะ เวลาอุ้มน้องแมวแล้วผมคิดว่าน่ามันจะนุ่มและอุ่นมาก เอาละนอกเรื่องมามากพอแล้วไปพบกับหัวข้อที่ 3-4 กันเลยครับ “อายุของแมว” เเละ “การเลี้ยงดูเเมว”



3.อายุของแมว

จริงๆแล้วอายุของน้องแมว น้องหมา และสัตว์อื่นๆอีกมากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับคนเราแล้ว จะไม่เท่ากันนะครับ แมวที่อายุประมาณ 4 – 6 เดือน คือ เมื่อเปรียบเทียบมนุษย์อย่างเราแล้วถือเป็นช่วงวัยรุ่นของแมวเลยทีเดียวครับ โดยเฉลี่ยแล้วอายุของแมวก็จะประมาณ 10 – 15 ปี แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยงของพวกเราด้วยครับ ถ้าเราให้น้องแมวกินอาหารที่ไม่ดี น้องแมวของเราก็อาจจะอยู่กับเราได้ไม่นาน แต่ถ้าเราให้กินอาหารที่ดี น้องแมวก็อาจจะอยู่กับเราได้นานมากขึ้นครับ


ในความคิดของผม “อาหารที่ดี” ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง “เสมอไป” ในความคิดของผมแล้ว “อาหารที่ดี” คืออาหารที่น้องแมวกินแล้วดีต่อร่างกายของน้องแมวเอง เช่น พวกสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของน้องแมว เมื่อน้องแมวกินเข้าไป  และคำว่าไม่จำเป็นต้องแพง“เสมอไป” คำว่า เสมอไป ของผมนั้นในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่า อาหารของน้องแมวจำเป็นต้องอาหารที่ราคาแพงหรือราคาถูกเท่านั้น อาหารของน้องแมวนั้นอย่างที่ผมบอกไป ควรเป็นอาหารที่ดีต่อน้องแมว ถ้าเราจะซื้ออาหารของน้องแมว ถ้าเป็นผม ผมจะเลือกซื้ออาหารที่ไม่แพงและไม่ถูกมากจนเกินไป

ถ้าราคามันแพงเราก็ไม่ควรฝืนกำลังตัวเองมากจนเกินไป ให้เราเลือกซื้อตามกำลังของตนเองเท่าที่ตนเองมี ไม่ควรฝืน และไม่ควรซื้อมาเป็นจำนวนมากๆในครั้งเดียว เพราะเราเองก็ต้องดูด้วยว่าน้องแมวนั้นชอบอาหารประเภทไหน ถ้าน้องแมวไม่ชอบอาหารที่เราซื้อมา น้องแมวก็จะไม่ค่อยกินอาหารที่เราซื้อมาและอาจจะทำให้เหลือทิ้งได้ครับ

โดยเฉลี่ยแล้วอายุของน้องแมวของเราจะประมาณ 10-15 ปี ถ้าใครเลี้ยงมาได้ถึงประมาณนี้แสดงว่าคุณเลี้ยงแมวได้ดีแล้ว เพราะ 4-6 เดือน คือ ช่วงวัยรุ่นของน้องแมว และถ้า 10-15 นี่คือเป็นช่วงที่น้องแมวแก่แล้ว ซึ่งการที่น้องแมวแก่นั้น เป็นเรื่องธรรมชาติ และสิ่งมาพร้อมความแก่ของน้องแมวคือ การเจ็บป่วยนั่นเอง ความแก่นั้นหมายความน้องแมวของเรานั้นไม่ได้แข็งแรงเหมือนกับแต่ก่อนแล้วนั่นเอง ซึ่งอาจจะต้องพาไปหา สัตวแพทย์บ่อยๆ และอาจมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นในเรื่องสุขภาพของน้องแมวด้วยครับ


4.การเลี้ยงดูแมว  (ในมุมมองของผมครับ)

เกี่ยวกับในหัวข้อนี้ ผมจะขอพูดเกี่ยวกับระบบปิด และ ระบบเปิด นะครับ ซึ่งผมได้พูดอธิบายไปตั้งแต่ต้นเรื่องแล้ว เรื่องของ“เเมว” ว่าระบบปิดและระบบเปิดเนี่ย คือระบบที่เรามีไว้เพื่อใช้ในการเลี้ยงน้องแมวของเราครับ ระบบปิดคือการที่เราควบควมดูเเลไม่ให้น้องแมวออกไปไหนตามลำพัง แต่ผมไม่ได้หมายถึงการกักขังน้องแมวไว้ตามกรง ให้อยู่ภายในห้อง หรืออะไรก็ตามที่เป็นการขังน้องเเมวเอาไว้

ผมไม่ได้หมายถึงว่าห้ามไม่ให้เขาออกไปจากบ้าน ก็คือเลี้ยงเขาไว้ภายในบ้าน ให้เขากิน นอน เล่น อยู่ภายในบ้าน ระบบปิดไม่ได้หมายความว่าต้องห้ามเขาออกจากบ้านเลยเด็ดขาด สามารถพาออกไปเดินเล่นได้ครับ เพราะถ้าเลี้ยงแบบระบบปิดแล้วไม่พาเขาออกไปข้างนอกบ้าง เขาจะเริ่มเครียดแล้วเขาจะพยายาม หรือ หาวิธีแอบหนีเราออกไปข้างนอกครับ (เหมือนเเมวของผม)

ส่วนระบบเปิด ระบบเปิดเนี่ยจะให้อิสระกับน้องแมวหน่อยคือให้เขาออกไปข้างเดินเล่นนอก ปล่อยให้เขาใช้เวลากับโลกภายนอกบ้าง ไม่ได้ไปบีบบังคับเขาว่าเวลากลางคืน ต้องเข้าบ้าน ต้องเข้ากรง สำหรับน้องแมว “บางตัว” เวลาที่เราเลี้ยงแบบระบบเปิด พอถึงเวลาที่เขาเบื่อหรือเริ่มมืดแล้ว เขาจะกลับเข้ามาภายในบ้านด้วยความสมัครใจของตัวเขาเอง แต่บางตัวก็จะแบบไปแล้วไม่กลับ แบบหายไปเลย ซึ่งผมเองก็บอกไม่ได้เหมือนกันระหว่าง 2 ระบบนี้ระบบไหนดีกว่ากัน แล้วแต่ผู้ที่เลี้ยงเลยนะครับ เพราะต้องดูสถานที่ที่เลี้ยงน้องแมวด้วยว่าเหมาะสมกับระบบไหนมากกว่ากัน แต่สำหรับผม ผมใช้ระบบปิด เพราะ บ้านผมเหมาะกับระบบปิดมากกว่าเเละอีกอย่าง ผมก็กลัวน้องแมวจะหายไป และ กลัวว่าน้องแมวจะไปตั้งท้องกับแมวจรจัดกลับมาอีกด้วย

ขอบคุณภาพสวยๆจากวิกิพีเดียด้วยนะครับ
https://th.wikipedia.org/wiki/เเมว  เเละ  https://en.wikipedia.org/wiki/Kitten

ยังมีต่อนะครับเดี๋ยวรอหัวข้อต่อไปจะมาเขียนเพิ่มเร็วๆนี้ อย่าลืมติดตามนะครับ